วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

รู้จักใช้ภาษาท่าทาง

บันทึกการอ่าน
ประเภทของสื่อการเรียนรู้
ประเภท  บทความ
ครั้งที่ วันที่ 6      เดือน   ธันวาคม      พ.. 2553
ชื่อผู้แต่ง  นิภาพร  เยี่ยมวัฒนา
สำนักพิมพ์    คุณธรรม   ปีที่พิมพ์ 2553
สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอ่าน
นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การแสดงออกทางภาษาที่ไร้เสียงนั้นมีความหมายมากกว่า และลึกซึ้งกว่าการแสดงออกของภาษาที่มีเสียงมากมายนัก เขายังได้เขียนสูตรออกมาดังนี้
การถ่ายทอดข่าวสาร = คำพูด 7% + น้ำเสียง 38% + การแสดงออกทางสีหน้าและกริยาท่าทาง
แม้คนเราจะใช้ภาษาในการพูดคุย ใช้ภาษาในการแพร่กระจายข่าวสาร ทว่าภาษาก็ไม่ใช่ทั้งหมดของการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นผู้พูดหรือผู้ฟัง ความถูกต้องในการถ่ายทอดและรับข่าวสาร ยังต้องอาศัยภาษากายของทั้งสองฝ่ายอนได้แก่ การแสดงออกทางสีหน้า กริยาท่าทาง รวมทั้งการกระทำเป็นต้น คนที่รู้จักพูดอย่างแท้จริง ไม่เพียงรู้จักใช้ปากในการพูด ยังรู้จักใช้ภาษากายและการแสดงออกทางสีหน้าในความเป็นจริงแล้ว เดิมทีภาษากายก็ คือ วิธีที่สำตัญอย่างหนึ่งที่มนุษย์เราใช้ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดต่อกัน โดยผ่านทางสายตา สีหน้า การทำไม้ทำมือ หรือ กริยาท่าทางต่างๆเหล่านี้ซึ่งก็สามารถถ่ายทอดเจตจำนงของตนให้อีกฝ่ายรับรู้ได้
อันที่จริงแล้ว ขั้นตอนในการพูดและฝังของคนเราก็คือขั้นตอนในการสับเปลี่ยนกันใช้สายตาและหูนั้นเอง
จากการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสื่อภาษาแห่งสหรัฐอเมริกา บอกว่าความรู้สึกประทับใจของคนเรา 77 % มาจากสิ่งที่มองเห็น 14% มาจากสิ่งที่ได้ยิน 9% มาจากอวัยวะอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ เวลาที่เราคบหาสมาคมกับผู้อื่นจึงจำเป็นต้องใส่ใจต่อการพูดจาและ อัปกิริยา รวมทั้งสีหน้าท่าทางของตนเองให้มาก ดูว่าได้รับการยอมรับจากอีกฝ่ายหรือเปล่า
ข้อคิดที่ได้จาการอ่าน
  • เมื่อมีการสื่อสารกับผู้อื่น อาจประกอบด้วยท่าทางเพื่อให้ผู้ที่สื่อสารด้วยรู้สึกจริงใจกับที่เราสื่อสารด้วย
  • กริยาท่าทางต่างๆซึ่งก็สามารถถ่ายทอดเจตจำนงของตนให้อีกฝ่ายรับรู้ได้
  • ไม่ใช่การสื่อสารทางการพูดอย่างเดียวที่สามารถให้อีกฝ่ายรับรู้ได้
การนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  • · เมื่อเราต้องการสื่อสารกับเพื่อนๆหรือผู้อื่น เราอาจใช้ภาษาของท่าทางประกอบกับการสื่อสารของการพูดนั้นสามารถ ทำให้ผู้เราสื่อสารด้วยนั้นมีความเข้าใจยิ่งขึ้น
  • · สามารถรู้ขั้นตอนในการฟังและการพูดของเรา
ข้อความประทับใจ / ข้อคิดเห็นของนักเรียน
การแสดงออกทางภาษาที่ไร้เสียงนั้นมีความหมายมากกว่า และลึกซึ้งกว่าการแสดงออกของภาษาที่มีเสียงมากมายนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีรับฟังความคิดเห็นจากทุกท่าน!!!
และยินดีรับเรื่องสั้นที่ท่านจะแบ่งปัน เพื่อนำมารวบรวมไว้เพิ่มเติมและเพื่อเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นต่อๆไป